ตำบลกุดสระ เขต ๑

         วัดศรีสว่าง

  พระครูอุดรกิตติญาณ 

( ครรชิต กิตติญาโณ ) 

 เจ้าคณะตำบลกุดสระ เขต ๑

 เจ้าอาวาสวัดศรีสว่าง

๐๙๒-๙๐๙-๖๔๙๘

วัดศรีสว่าง   ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙๔  บ้านดอนหวาย  หมู่ที่ ๘  ตำบลกุดสระ  อำเภอเมืองอุดรธานี  จังหวัดอุดรธานี 

สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๓ งาน ๓ ตารางวา 

    

ประวัติความเป็นมา  วัดศรีสว่าง ตั้งมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ จากคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า แต่ก่อนที่ดินแห่งนี้เป็นป่าหนองข้อน้อย เป็นป่าหนาทึบมาก มีคุณตาบุญศรี มาจับจองที่ทำกินใกล้ๆบริเวณวัดแห่งนี้ ต่อมาคุณตาบุญศรี พาลูกหลานลองขุดรอบๆ ดู ก็พบก้อนหินใหญ่และกำแพงรอบทั้ง ๔ ด้าน ทิศตะวันออกเป็นบันไดหิน ๓ ชั้น แต่ละก้อนยาว ๗๐ ซม. กว้าง ๕๐ ซม. จึงคิดว่าแต่ก่อนเป็นอุโบสถเก่า จากนั้นก็ขุดพบ ใบสีมา ๔ ใบ ฝังอยู่ทั้ง ๔ ทิศ มีตัวหนังสือเขียนไว้ในใบสีมาว่า พ.ศ.๘ และยังมีอิฐแตก และพระพุทธรูปหนึ่งองค์ เศียรไม่มี แขน-ขา ก็แตกหักตามอายุ ได้นำมาล้างทำความสะอาด เพื่อจะนำมาทำพีธีสวดยัดปลุกเสกใหม่ ต่อเศียรและแขนขาใหม่ด้วยซีเมนต์ จากนั้นจึงได้นิมนต์พระมา ๗ รูป หลังจากทำบุญถวายภัตตาหารเสร็จ จากนั้นก็ทำพิธีสวดยัดปลุกเสกต่อเศียรต่อแขน และขา แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานในวิหารจนถึงทุกวันนี้  จากนั้นคุณตาบุญศรี  ก็ได้ปวารณาต่อหน้าคณะสงฆ์ทั้ง ๗ รูป ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัดขึ้นเป็นเนื้อที่กว้าง ๓ ไร่ ยาว ๔ ไร่ ช่วงนั้นมีวัดอยู่ในบ้านอยู่แล้ว มีพระจำพรรษาอยู่ ๑ รูปเมื่อรู้ว่ามีวัดตั้งใหม่พระที่อยู่วัดในบ้านก็เข้ามาอยู่ วัดในบ้านจึงไม่มีพระจำพรรษา ผู้ใหญ่บ้านในยุคนั้นจึงปรึกษากับ  คุณตาบุญศรี จึงขอรวมวัดให้มีเพียงวัดเดียว   คุณตาไม่ขัดข้อง   เพราะวัดเป็นของทุกคนอยู่แล้ว   บริเวณวัดบ้านในอดีตคือสถานที่ตั้งโรงเรียน

ในปัจจุบัน  จากนั้นก็มีพระมาจำพรรษาอยู่วัดศรีสว่าง   จนถึงปัจจุบันนี้   และมีคำกลอนประจำ  " วัดศรีสว่างว่า "

    

   '' ศรีสว่างแจ้ง  แสงธรรม  ดอนหวายนำ  ดอนธรรมค้ำ,

              ชูนาเก่ากี้  สืบเชื้อ  บ่น้อยหน้าแดนใด ''


การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  เจ้าคณะตำบลกุดสระ เขต ๑ / เจ้าอาวาสวัดศรีสว่าง

     วัดวารีศรีสะอาด

  พระอธิการสุรจิตร ธีรวโร 

เจ้าอาวาสวัดวารีศรีสะอาด

๐๘๖-๘๕๖-๖๕๖๙

วัดวารีศรีสะอาด  ตั้งอยู่ที่บ้านดงลิง  ถนนมิตรภาพสายอุดรธานี-หนองคาย หมู่ที่ ๒ ต.กุดสระ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ประวัติความเป็นมา  วัดวารีศรีสะอาด สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ชาวบ้านเรียกกันว่า  วัดวารีศรีสะอาด บ้านดงลิง โดยมีผู้ใหญ่บ้านพร้อมชาวบ้านดงลิง ได้ร่วมกันดำเนินการสร้างขึ้น ให้มีชื่อว่า   " วัดบ้านดงลิง "  ตามชื่อหมู่บ้าน ต่อมาพระอธิการเสา   ได้นำชาวบ้านพัฒนาวัดในด้านต่างๆ   และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น   วัดวารีศรีสะอาด   มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๑ งาน อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๔ เส้น ๖ วา ๒ ศอก จดหมู่บ้านและทุ่งนา ทิศใต้ประมาณ ๔ เส้น ๓ วา ๑ ศอก จดหมู่บ้านและทุ่งนา ทิศตะวันออกประมาณ ๒ เส้น ๖ วา ๓ ศอก จดถนนมิตรภาพ อุดร - หนองคาย ทิศตะวันตกประมาณ ๒ เส้น ๑๙ วา ๓ ศอก จดทุ่งนา  อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ กุฎิสงฆจำนวน ๔ หลัง หอระฆัง และโรงครัว ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปทอง พระพุทธรูปขนาดเล็ก สร้างด้วยทอง/และแก้ว และหินจำนวนมาก 

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ   

          วัดดงลิง

 พระมหาไพบูรณ์ ยสินธโร 

เจ้าอาวาสวัดดงลิง

๐๘๕-๖๔๗-๖๗๒๑

วัดดงลิง    ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓  บ้านดงลิง   ต.กุดสระ  อ..เมืองอุดรธานี  จ.อุดรธานี

สร้างเมื่อวันที่  ๒๗  สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๒๕

ประวัติความเป็นมา   วัดดงลิง  ตั้งอยู่ที่บ้านดงลิง  หมู่ที่ ๓  ตำบลกุดสระ  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี

 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินมีเนื้อที่  ๑๓  ไร่ ๓ งาน ๘๓ ตารางวา  วัดดงลิง  ได้รับอนุญาตสร้างเมื่อ

วันที่  ๒๗  สิงหาคม  ๒๕๒๕  กระทรวงศึกษาธิการประกาศ  ตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยมี นายคำเกลี้ยง   สมใจ   เป็นผู้ขออนุญาตสร้างวัดและตั้งวัด   พร้อมบริจากที่ดินให้สร้างวัดด้วย

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  วัดดงลิง

    วัดทุ่งสว่างยางบึง

  พระมหาเจริญ  ภนฺทมุตฺโต 

เจ้าอาวาสวัดทุ่งสว่างยางบึง

๐๙๘-๑๓๖-๘๙๘๖ 

วัดทุ่งสว่างยางบึง    ตั้งอยู่เลขที่  ๑๑๘   บ้านยางบึง  หมู่ที่ ๓   ต.กุดสระ  อ.เมืองอุดรธานี  จ.อุดรธานี 

 สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๘๑   สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๖ ตารางวา

ตาม น.ส. ๓ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๓๔ วา จดทางสาธารณะ ทิศใต้ประมาณ ๓๔ วา ๒ ศอก จดทางสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ ๑ เส้น ๔ วา ๒ ศอก จดทางสาธารณะ ทิศตะวันตกประมาณ ๑ เส้น ๑๗ วา ๒ ศอก จดทางสาธารณะ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๖ หอสวดมนต์ สร้าง พ.ศ. ๒๕๓๓ วิหารสร้าง พ.ศ. ๒๕๑๕ และกุฎิสงฆ์ ๒ หลัง

ปูชนียวัตถุ มีพระพุทธรูปปูน และ พระพุทธชินราช                                                         



การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนาม คือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทุ่งสว่างยางบึง

           วัดโนนดู่

  พระอธิการถาวร ทีปธมฺโม 

เจ้าอาวาสวัดโนนดู่

๐๘๙-๙๔๒-๙๗๓๙

วัดโนนดู่   ตั้งอยู่เลขที่  ๘๖   บ้านโนนดู่   ต.กุดสระ  อ.เมืองอุดรธานี  จ.อุดรธานี

สร้างเมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๒๕ 

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่  ๑๙  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๔๖

ประวัติความเป็นมา  วัดโนนดู่ เดิมชื่อวัดแก้วกู่ มีโยมชื่อ นายประเสริฐ ลาดำ บริจากที่ดินเพื่อทำการตั้งวัด มีพระอาจารย์ ทองสุข  ศิริวณฺโณ  มาจำวัดเป็นองค์แรก  เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จากนั้นได้ย้ายไปจำวัดที่เดิมที่  จังหวัดมหาสารคาม ต่อมามีหลวงตาบัว พุทธวโร มารักษาการต่อ จนมรณะภาพในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ 

ได้มีพระอาจารย์  ถาวร ทีปธมฺโม  มารักษาการต่อ จากนั้นได้ขออนุญาตสร้างวัด เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔ และได้รับเรื่องแต่งตั้งวัดในชื่อว่า " วัดโนนดู่ " เมื่อวันที่  ๑๙  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๔๖  จนถึงปัจจุบันนี้  และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อวันที่  ๓  กันยายน  พ.ศ. ๒๕๔๖

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  วัดโนนดู่ 

  วัดมงคลพัฒนาราม

 พระละออง สีลคุโณ 

รักษาการเจ้าอาวาสวัดมงคลพัฒนาราม

๐๘๙-๐๕๕๒๑๙๑

       วัดพาราณสี

  พระมหาผดุงศักดิ์ มหาปญฺโญ 

 เจ้าอาวาสวัดพาราณสี

๐๘๒-๑๔๑-๒๐๒๑

วัดพาราณสี    ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๓   บ้านดงเจริญ  หมู่ที่ ๑๑   ต.กุดสระ  อ.เมืองอุดรธานี  จ.อุดรธานี

สร้างเมื่อปี  พ.ศ. ๒๔๘๐

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่   ๒๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๑๗ 

ประวัติความเป็นมา  วัดพาราณสี  ที่ดินที่จัดสร้างวัดพาราณสีนี้  เดิมทีเป็นที่ดินของพระยาอดุลยเดชสยามเมศวรภัคคีพิริยพาหะ ( อุ้ย นาครทรรพ )  ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งเทศาภิบาล มณฑลอุดรธานี ในขณะนั้น ได้มาจับจองที่ดินด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้านดงสระพัง  หมู่บ้านดงเจริญในปัจจุบัน  มีเนื้อที่ประมาณ ๖๕ ไร่ เพื่อใช้ในการปลูกบ้านและทำสวน ต่อมาเมื่อพระยาอดุลยเดช  ถึงแก่อนิจกรรม ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘  คุณหญิงปุ้ย ภริยาของท่าน  ได้ตกลงที่จะขายที่ดินแห่งนี้ในราคา  ๕๐,๐๐๐ บาท คณะสงฆ์ในจังหวัดอุดรธานี  นับแต่เจ้าคณะจังหวัด พร้อมด้วยประชาชนในอำเภอเมืองอุดรธานี ได้ปรึกษาหารือและเห็นชอบว่า ควรที่จะซื้อที่ดินผืนนี้เป็นธรณีสงฆ์ เพื่อจะได้สร้างเป็นวัดวิปัสสนากรรมฐาน ประจำจังหวัดอุดรธานี  ตัวคุณหญิงปุ้ย นั้นก็มีศรัทธากับความคิดเช่นนี้จึงได้ลดราคาที่ดินลงครึ่งหนึ่ง เหลือเป็น ๒๕,๐๐๐ บาท คณะสงฆ์ในจังหวัดจึงได้ร่วมกันประกาศเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจากปัจจัยเพื่อซื้อที่ดินถวายสร้างวัดวิปัสสนากรรมฐานขึ้นมา    โดยรายชื่อทั้งหมดนั้นได้จารึกไว้ที่อนุสรณ์มาตราบ   จนปัจจุบันนี้

ต่อมาเมื่อวันที่  ๒๑  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๑๔  ได้เริ่มทำการก่อสร้างอุโบสถ์ขึ้่น ๑ หลัง ได้มีการวางศิลาฤกษ์ 

และดำเนินการก่อสร้างจนสำเร็จ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่

๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๗ ปัจจุบันนี้วัดพาราณสี ได้มีพัฒนาเพิ่มมากขึ้น มีการปลูกสร้างอาคารเสนาสนะ เทพื้นคอนกรีต   และสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก     เพื่อเป็นเส้นทางสัญจรภายในวัดอันเป็นการพัฒนา

เพื่อให้สอดคล้องกับตามความเจริญของชุมชน แต่ในขณะเดียวกันก็คงอนุรักษ์พื้นที่สงวนป่าภายในวัด ให้คงสภาพความเป็นธรรมชาติไว้เพื่อให้วัดได้เป็นศูนย์รวมจิตใจ  ของชาวบ้านดงเจริญ  และชุมชนใกล้เคียง เป็นสถานที่ในการประกอบพิธีศาสนกิจต่างๆ  เช่น  งานบุญ  งานกุศล  งานฌาปนกิจ  เป็นแหล่งพักผ่อน  สอนธรรมะแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  วัดพาราณสี