สำนักงานเจ้าคณะอำเภอเมืองอุดรธานี
วัดบัวบาน
พระครูปทุมพิทักษ์
( คำภา คมฺภีโร )
รองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุดรธานี
เจ้าอาวาสวัดบัวบาน
๐๖๕-๒๓๖-๖๕๐๔
วัดบัวบาน ตั้งอยู่่เลขที่ ๘๐ บ้านกุดสระ ตำบลกุดสระ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
ประวัติความเป็นมา วัดบัวบาน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ เริ่มพัฒนาวัดเมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สังกัดมหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ประมาณ ๖ ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๕๔ ตารางวา ๑ ศอก จดถนน ทิศใต้ประมาณ ๒๙ ตารางวา ๒ ศอก จดถนน ทิศตะวันออกประมาณ ๖๖ ตารางวา ๓ ศอก จดถนน
ทิศตะวันตกประมาณ ๔๖ ตารางวา จดถนน มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๑๖ ไร่ ๗๕ ตารางวา
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ
รูปที่๑ พระอธิการหาญ กตปุญโญ พ.ศ. ๒๔๑๕ - ๒๔๒๓
รูปที่๒ เจ้าอธิการหนู ธมฺมโชโต พ.ศ. ๒๔๒๓ - ๒๔๘๕
รูปที่๓ พระอธิการช่วงชัย พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๘๘
รูปที่๔ พระคำเหมิ่ง พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๔๘๙
รูปที่๕ พระอธิการทิพย์ ภทฺทสีโล พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๔๙๑
รูปที่๖ พระอธิการจิรศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๔๙๖
รูปที่๗ พระอธิการสอน พ.ศ. ๒๔๙๖ - ๒๔๙๗
รูปที่๘ พระอธิการภูมินทร์ พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๒๕๐๐
รูปที่๙ พระอธิการน้อย พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๐๑
รูปที่๑๐ พระอธิการม่ง พ.ศ. ๒๕๐๑ - ๒๕๐๒
รูปที่๑๑ พระอธิการดีเลิศ พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๐๓
รูปที่๑๒ พระอธิการแดง พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๔
รูปที่๑๓ พระอธิการสนั่น พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๕
รูปที่๑๔ พระอธิการนวน พ.ศ. ๒๕๐๕ - ๒๕๐๗
รูปที่๑๕ พระอธิการหนู พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๑๑
รูปที่๑๖ พระครูปทุมพิทักษ์ พ.ศ. ๒๕๑๒ - ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุดรธานี / เจ้าอาวาสวัดบัวบาน
วัดธาตุสว่างโนนยาง
พระครูสถิตวโรภาส
( สุวิทย์ ฐิตธมฺโม )
เจ้าคณะตำบลกุดสระ เขต ๒
เจ้าอาวาสวัดธาตุสว่างโนนยาง
๐๘๔-๗๙๔-๘๐๙๑
วัดธาตุสว่างโนนยาง ตั้งอยู่เลขที่ ๘๑ บ้านโนนยาง ตำบลกุดสระ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๑
ประวัติความเป็นมา วัดธาตุสว่่างโนนยาง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เดิมเป็นวัดร้าง ชาวบ้านที่อพยพมาจากบ้านกุดสระ
มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโนนยาง จึงได้ร่วมกันกับพระเณรช่วยกันสร้างและบูรณะวัดขึ้น โดยมีพระอุปัชฌาย์หนู
เป็นประธานในการสร้างวัด
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ
รูปที่๑ พระครูสุวรรณประภาส พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๕๑๘
รูปที่๒ พระครูคำภีรวิสุทธิคุณ พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๔๐
รูปที่๓ พระครูสถิตวโรภาส พ.ศ. ๒๕๔๐ - ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลกุดสระ เขต ๒ / เจ้าอาวาสวัดธาตุสว่่างโนนยาง
วัดเสวตวงษ์นิวาส
พระอธิการบัวลี จนฺทสโร
เจ้าอาวาสวัดเสวตวงษ์นิวาส
๐๘๐-๔๐๑-๙๔๗๕
วัดเสวตวงษ์นิวาส ตั้งอยู่เลขที่ ๖๔ บ้านขมิ้น ตำบลกุดสระ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันท่ี ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘
ประวัติความเป็นมา วัดเสวตวงษ์นิวาส สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยมีนายทองดี เสวตวงษ์ ได้มอบที่ดินสร้างวัดและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันทีี่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าท่ีทราบรายนามคือ
รูปที่๑ พระจั้น พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๔๘๐
รูปที่๒ พระดำ พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๔๘๖
รูปที่๓ พระจ่อย พ.ศ. ๒๔๘๖ - ๒๔๙๐
รูปที่๔ พระหนู พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๔๙๔
รูปที่๕ พระคำปิ่น พ.ศ. ๒๔๙๔ - ๒๕๐๐
รูปที่๖ พระอธิการบัวลี จนฺทสโร พ.ศ. ๒๕๐๐ - ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดเสวตวงษ์นิวาส
วัดโนนตูมสราราม
พระอธิการพิศนุ สนฺตมโน
เจ้าอาวาสวัดโนนตูมสราราม
๐๘๕-๐๑๒-๘๐๐๗
วัดโนนตูมสราราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลกุดสระ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย
ประวัติความเป็นมา วัดโนนตูมสราราม เดิมชื่อ ( วัดป่าดงหนองตาล ) เริ่มสร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานเป็นที่ทราบแน่นอน แต่คนเฒ่าคนแก่ที่เกิดในพื้นที่เล่าว่า เป็นวัดโบราณที่ตั้งอยู่กลางป่ามาเป็นระยะเวลานานมากแล้ว
เคยมีร่องรอยของชุมชนคนโบราณ ตั้งอยู่รอบๆวัด ชาวบ้านที่ออกหาของป่ามักพบเห็นของใช้ต่างๆ เช่น หม้อ ไห มีด สร้อยประคำ โผล่พ้นดินขึ้นมา หากใครคนไหนเก็บกลับไปเป็นสมบัติส่วนตัว ก็มักจะมีเหตุการณ์แปลกๆเกิดขึ้นภายในครอบครัวเสมอ จนที่สุดก็ต้องนำของกลับมาไว้ที่เดิม และต้องหาหมอธรรมหรือหมอผี ประจำหมู่บ้านมาทำพิธี
บอกกล่าวขอขมา เหตุแปลกๆที่เคยเกิดขึ้นก็หายไป แต่หากใครยังดึงดันเก็บของไว้ ก็อาจจะต้องเสียสติหรือเสียชีวิต เสียคนในครอบครัวไปก็มี วัดป่าดงหนองตาล มีชื่อตามทะเบียนของสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ คือ วัดโนนตูมสราราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย มีที่ตั้งอยู่กลางป่า ข้างหนองน้ำดงหนองตาล บริเวรดังกล่าวตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อของ ๔ ตำบล ๒ อำเภอ คือ ตำบลกุดสระ ตำบลนาข่า ตำบลสามพร้าว ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี และตำบลสร้างแป้น เขตอำเภอเพ็ญ มีพื้นที่วัดทั้งหมด ๑๖ ไร่ สภาพเดิมของวัดเมื่อครั้งสมัยก่อน ชาวบ้านเล่าว่ามีสภาพเป็นป่าหนารกทึบค่อนข้างมืดครึ้ม ต้นไม้ใหญ่มีเถาวัลย์และรังผึ้งขนาดใหญ่เต็มไปหมด ชาวบ้านแถวป่านั้นมักจะหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปในพื้นที่ ซึ่งมีความเย็นอย่างผิดปกติ หากเข้าใกล้เขตพื้นที่ของวัด จะพบว่ามีหินคล้ายเสาใบเสมาโบราณ ฝังอยู่รอบๆวิหารหินหรือสิมที่พังทลายลงมา คงเหลือทางเข้าภายในเล็กๆให้เห็นเท่านั้น ข้างในพบว่ามีพระพุทธรูปหนึ่งองค์ ที่เหลือให้เห็นส่วนบ่าไหล่ลงมา สมัยนั้น ผู้ที่มีของดีหรือวิชาอาคม มักจะมาหาของดีในสิมหินโบราณกันบ่อยๆ ซึ่งรวมทั้งพวกโจรผู้ร้ายที่เก่งด้านอาคมก็ชอบมาขุดหาของดีที่มีอยู่ภายในสิมโบราณแห่งนี้เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันเรื่องเล่าดังกล่าว ก็ถูกมองว่าเป็นแค่เรื่องเล่าขึ้นมา ซึ่งที่ไม่มีหลักฐานอะไร เพราะผู้ที่เคยประสบพบเจอด้วยตัวเอง ต่างก็ล้มหายตายจากไปแทบจะหมดสิ้น จึงกลายเป็นแค่ตำนานที่เล่ากันมาเท่านั้นเอง ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ วัดป่าดงหนองตาล ได้รับการฟื้นฟูถากถางให้เป็นสำนักสงฆ์อีกครั้ง โดย
พระอาจารย์ ประสงค์ ซึ่งได้เดินธุดงค์มาจากภูเก้า มาปักกลดปฏิบัติธรรมบริเวณวัดป่าดงหนองตาล และได้ชักชวนคนเฒ่าคนแก่ที่มีศรัทธาต่อพื้นที่ร่วมกันสร้างกุฏิที่พักเล็กๆขึ้นมา ข้างบริเวณใกล้ๆสิมหรือโบสถ์เก่า แต่ท่านก็จำพรรษาอยู่ได้ ๒ พรรษา ก็ย้ายไปอยู่ที่อื่น ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ หลวงพ่อเกียรติ จากวัดดงหมากไฟตำบลสามพร้าว ได้มาอยู่จำพรรษา ๑ พรรษา และได้ย้ายไปจำพรรษาที่อื่นจากนั้น หลวงพ่อสมพร ได้เข้ามาพัฒนาวัดต่อจนถึง ปีพ.ศ. ๒๕๒๖
ก็ย้ายไปจำพรรษาที่อื่น พระอาจารย์อวยชัย ได้เข้ามาพัฒนาวัดต่อและริเริ่มปรึกษาชาวบ้านเพื่อสร้างศาลา
วัดป่าดงหนองตาล หลังใหม่ทดแทนศาลาหลังเดิมซึ่งมีสภาพทรุดโทรม แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จก็ลาสิกขาออกไป
พระอาจารย์ชิน จึงได้ดำเนินการสร้างศาลาหลังใหม่ต่อ แต่ก็ยังขาดปัจจัยการก่อสร้างอีกมาก คุณตาบุญโฮม
จึงได้ขอความอนุเคราะห์ศรัทธาปัจจัยจาก พระมหาทองสา หลานชายคุณตาบุญโฮม ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้ช่วยเหลือ ญาติโยมจากบริษัทเจริญชัย จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้เป็นผู้อุปถัมภ์หลัก
ที่ช่วยให้การก่อสร้างศาลาวัดหลังใหม่ของวัดป่าดงหนองตาลแล้วเสร็จ พระอาจารย์ชินจึงได้ลาสิกขาไป ต่อมาพระอาจารย์ติ๊กได้มาจำพรรษา และพัฒนาวัดป่าดงหนองตาล โดยร่วมกับพระอาจารย์พิศนุ สร้างห้องน้ำขึ้นใหม่
จำนวน ๕ ห้อง จากนั้นพระอาจารย์ติ๊กได้ไปจำพรรษาที่วัดอื่น ปัจจุบัน วัดป่าดงหนองตาล มีพระอาจารย์พิศนุ เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งท่านได้บวชและมาจำพรรษาที่วัดป่าดงหนองตาล มาตลอดตั้งแต่เริ่มบวช จากการที่ท่านเป็นพระนักคิดนักพัฒนา โดยมีหลักยึดมั่นที่จะปฏิบัติอย่างมั่นคงทั้งในเรื่อง ธรรมะ และด้านการพัฒนา โดยท่านได้สร้างห้องน้ำ ทำกุฏิ สร้างพระพุทธรูปยืนประจำวัด ( พระพุทธลีลามหามุนีปฏิมากร ) และดำเนินการสร้างอุโบสถ ปลูกป่า จัดสวนปฏิบัติธรรม ทำให้วัดป่าดงหนองตาลมีความเจริญ มีญาติโยมจากหลายๆฝ่ายเข้ามาเลื่อมใสศรัทธา โดยในการพัฒนาวัดที่ผ่านมา คุณตาบุญโฮม ซึ่งเป็นไวยาวัจจกรของวัด และคณะกรรมการวัด ชาวบ้านขมิ้นทุกฝ่ายได้ช่วยพัฒนาวัดป่าดงหนองตาลมาโดยตลอด ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ วัดป่าดงหนองตาล ได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งพระอาจารย์พิศนุ ได้พาคณะญาติธรรมของวัดไปร่วมพิธีประทานและอัญเชิญมาจากวัดบวรนิเวศวิหาร และได้จัดพิธีแห่อัญเชิญอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายเสนีย์ จิตตเกษม เป็นประธานและท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายณรงค์ พลละเอียด เป็นรองประธาน ในพิธีอัญเชิญดังกล่าว มีพี่น้องพุทธศาสนิกชนจากทั่วทิศ เข้าร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุ ได้ประดิษฐานไว้ในอุโบสถ วัดป่าดงหนองตาลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสถานที่เผยแพร่พระพุทธศาสนาประจำตำบลกุดสระ และได้เปิดให้มีการเข้าฝึกอบรมปฏิบัติธรรมทั้งของเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และของญาติโยมอุบาสก อุบาสิกาในช่วงวันที่ ๕ - ๑๐ มกราคม ของทุกๆปี
การปริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ
รูปที่๑ พระอาจารย์พิศนุ สนฺตมโน พ.ศ. ๒๕๖๔ - ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดโนนตูมสราราม
วัดป่าอุดมคงคาราม
พระราศรี กตธมฺโม
รักษาการเจ้าอาวาส
วัดป่าโนนอุดมคงคาราม
๐๘๖-๒๓๔-๐๕๗๔
วัดโนนบ่อโคลน
พระอธิการพุทธี ฐิตธมฺโม
เจ้าอาวาสวัดโนนบ่อโคลน
๐๘๘-๐๒๗-๘๕๕๒
วัดโนนบ่อโคลน ตั้งอยู่เลขที่ ๓๖๕ บ้านบ่อโคลน ตำบลกุดสระ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ประวัติความเป็นมา วัดโนนบ่อโคลน สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อโคลน ทางทิศตะวันออกและเหนือติดกับบ้านบ่อโคลน ทางทิศใต้ติดกับป่า ทางทิศตะวันตก ติดกับแม่น้ำบ่อโคลน มีเนื่้อที่ ๙ ไร่ ๖๐ ตารางวา
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ
รูปที่๑ พระอุดร ธมฺมทินโน พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๔๘๖
รูปที่๒ พระสมบูรณ์ เขมจาโร พ.ศ. ๒๔๘๗ - ๒๔๙๑
รูปที่๓ พระบุญธรรม จารุวณฺโณ พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๔๙๗
รูปที่๔ พระอธิการที พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๒๕๓๐
รูปที่๕ พระทองดี สุภทฺโท พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๕๓
รูปที่๖ อธิการพุทธี ฐิตธมฺโม พ.ศ. ๒๕๕๓ - ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดโนนบ่อโคลน