ตำบลบ้านจั่น

    วัดไชยราษฎร์บำรุง

 พระครูสุจิตชัยธำรง 

( สนิท สุทฺธจิตฺโต )  

เจ้าคณะตำบลบ้านจั่น

เจ้าอาวาสวัดไชยราษฎร์บำรุง

๐๘๙-๙๔๓-๓๑๒๑

วัดไชยราษฎร์บำรุง   ตั้งอยู่ที่เลขที่  ๒๗๔  บ้านศรีบุญเรือง  ตำบลบ้านตาด  อำเภอเมืองอุดรธานี  จังหวัดอุดรธานี

สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๘๒

ประวัติความเป็นมา  วัดไชยราษฎร์บำรุงได้สร้างขึ้นปี  พ.ศ. ๒๔๘๒  โดยพ่อดวง - แม่ลี แก้วไชย มีจิตศรัทธาได้ซื้อที่ดินจากผู้ที่มาจำนองไว้ก่อนแล้ว  ประมาณ ๑๐ ไร่เศษ  เพื่อเป็นสถานที่สร้างสำนักสงฆ์แห่งน้ีขึ้น โดยเริ่มสร้างกฏิขึ้นก่อน ๑ หลัง  พร้อมเพิงที่สร้างขึ้นเพื่อทำกิจกรรมในการทำบุญ  ต่อมาชาวบ้านจึงเริ่มสร้างศาสนวัตถุต่างๆ  ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่เคารพบูชาและบำเพ็ญกุศลของชุมชน

 ซึ่งวัดน้ีได้ให้ชื่อไว้ว่า  วัดไชยราษฎร์บำรุง  ที่มาของชื่อวัดไชย มาจาก "แก้วไชย" ราษฎร์มาจาก "ราษฎร์"  บำรุงมาจาก 

 "การทำนุบำรุง"  นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  เจ้าคณะตำบลบ้านจั่น / เจ้าอาวาสวัดไชยราษฎร์บำรุง

        วัดศรีลาวรรณ

 พระครูคัมภีร์สีลคุณ 

เจ้าอาวาสวัดศรีลาวรรณ

๐๖๕-๒๙๔-๓๖๓๐

วัดศรีลาวรรณ   ตั้งอยู่เลขที่ ๑   บ้านจั่น   ตำบลบ้านจั่น   อำเภอเมืองอุดรธานี   จังหวัดอุดรธานี

สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๗๕

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อ  พ.ศ. ๒๕๔๒

ประวัติความเป็นมา  วัดศรีลาวรรณ  สร้างเมื่อปี  ๒๔๗๕  แต่ก่อนเป็นที่ว่างเปล่ามีเจดีย์อยู่  มีบ้านสิบห้าหลังคา ชวนกันมาตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่เคารพบูชาและที่ทำบุญตามประเพณี จนมีชุมชนมากขึ้นจึงร่วมกันบูรณะจนมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นวัดที่สมบูรณ์  ในเมื่อปี ๒๕๔๒  จึงได้รับวิสุงคามสีมา อย่างสมบูรณ์

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  วัดศรีลาวรรณ


     วัดโพธิ์ศรีสงคราม

พระมหาชัยวัฒน์ โชติธมฺโม 

เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีสงคราม

๐๘๗-๐๑๓-๖๔๘๕

วัดโพธิ์ศรีสงคราม   ตั้งอยู่เลขที่  ๒๒๗   บ้านเลี่ยมพิลึก   ตำบลบ้านจั่น   อำเภอเมืองอุดรธานี   จังหวัดอุดรธานี

สร้างเมื่อวันที่  ๙  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๔๐๘

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา   เมื่อวันที่   ๒๕   มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๓๕

ประวัติความเป็นมา   เมื่อมีชาวบ้านเริ่มมาตั้งถิ่นฐาน  ก็เห็นว่ามีที่พักสงฆ์ชั่วคราว  ที่ทำจากไม้ไผ่บ้าง  ก้านไม้กิ่งไม้บ้าง  ล้อมบังสามด้าน  โดยมีเศษกิ่งไม้กองทับถมกันเป็นหลังคาปรากฏอยู่แล้ว ๒ หลัง  ปัจจุบันคือบริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ  เพราะเป็นจุดที่พระธุดงค์เดินทางมาจากที่ต่างๆ  มารวมกันและปักกลดค้างแรม เพื่อเดินทางข้ามหนองน้ำขนาดใหญ่  ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวเท่านั้นที่สามารถใช้เดินทางได้  ในปี  พ.ศ. ๒๕๐๕  ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกฏิที่ทำจากไม้  ๒ หลัง  ใช้เป็นที่พักสงฆ์ชั่วคราว และมีพระอยู่

จำพรรษา  โดยมีชาวบ้านคอยให้การดูแลอุปถัมภ์  ต่อมาเมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๑๐  มีมัคทายกวัดเดินทางไปธุระที่บ้านหนองขาม  และได้พบกับ  พระกมล  กมโล  หรือหลวงพ่อด้วนในสมัยนั้น  ซึ่งท่านพึ่งเดินทางกลับมาจากศึกษาภาษาอังกฤษ  หลังจากนั้นก็ได้สนทนาธรรมและได้ไปนิมนต์ท่านมาเป็นสมภารวัด

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส   วัดโพธิ์ศรีสงคราม

       วัดศิลาอาสน์

 พระอธิการสุดโท ปริสุทฺโธ 

เจ้าอาวาสวัดศิลาอาสน์

๐๘๖-๘๖๐-๙๔๖๕

วัดศิลาอาสน์    ตั้งอยู่บ้านศรีวิไล   ตำบลบ้านจั่น   อำเภอเมืองอุดรธานี   จังหวัดอุดรธานี

สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๙๓

ประวัติความเป็นมา   วัดศิลาอาสน์   สร้างตั้งแต่ปี  พ.ศ.  ๒๔๙๓

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  วัดศิลาอาสน์

      วัดป่าอินทวรรณ

  พระอธิการเรืองยศ ฐานกโร 

เจ้าอาวาสวัดป่าอินทวรรณ

เลขานุการเจ้าคณะตำบลบ้านจั่น

๐๘๗-๒๓๒-๐๐๖๒

วัดป่าอินทวรรณ    ตั้งอยู่ที่บ้านเลี่ยมพิลึก   ตำบลบ้านจั่น   อำเภอเมืองอุดรธานี   จังหวัดอุดรธานี

สร้างเมื่อวันที่  ๑๖  กุมภาพันธ่์  พ.ศ. ๒๕๑๖

ประวัติความเป็นมา   แม่ทองนาค  ได้มาซื้อที่ดินจากพ่อบุญหนา  ลุนอินทร์  เนื้อที่ ๑๐ ไร่  และสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นชาวบ้านเลี่ยมพิลึก  ได้สร้างกฏิเป็นที่พักสงฆ์  ๑  หลัง  ศาลาไม้ ๑ หลัง  มีพระภิกษุมาจำพรรษามิได้ขาด  เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘  ชาวบ้านได้ไปนิมนต์ พระเรืองยศ  ฐานกโร  มาจากวัดศรีลาวรรณ  บ้านจั่นมาอยู่เป็นสมภารวัด  และได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้น ๑ หลัง  พร้อมทั้งกำแพงวัด ซุ้มประตูโขงและกุฏิขึ้นอีก  ๑๓  หลัง  ห้องน้ำ  ๒๗  ห้อง  ปัจจุบันมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาจำนวน  ๕  รูป

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  วัดป่าอินทวรรณ