สำนักงานเจ้าคณะอำเภอเมืองอุดรธานี
วัดบ้านเม่น
พระอธิการณัฐพล ฐานจาโร
รก.เจ้าคณะตำบลบ้านขาว เขต๑
เจ้าอาวาสวัดบ้านเม่น
๐๖๒-๙๖๕-๒๒๘๕
วัดบ้านเม่น ตั้งอยู่เลขที่ ๗๖ บ้านเม่น ต.บ้านขาว อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี สร้างเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๖
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๕
ประวัติความเป็นมา วัดบ้านเม่น ตั้งอยู่บ้านเม่นตำบลบ้านขาว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระครูอนุรักษ์วิมล
( หลวงปู่สาย ) วัดบัวจูมบ้านขาว ได้นำพาชาวบ้านก่อตั้งวัดเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยชาวบ้านได้ทำการบริจากที่ดินที่เป็นสวนให้เป็นสถานที่ก่อตั้งวัด โดยมีหลวงปู่สาย ได้ส่งพระภิกษุสงฆ์ออกมาจำพรรษาประจำ และมีพระภิกษุผลัดเปลี่ยนกันเรื่อยมาจนถึงประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๓ จึงได้ทำเรื่องขออนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๕ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระราชโองการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๑๖๒ งวดที่ ๓ ประจำปี ๒๕๕๕ วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติตามบัญชี รายชื่อที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา โดยการนำพาของท่านอดีตเจ้าอาวาส พระอธิการวันทอง วณฺณธโร เป็นต้นมา ปัจจุบันปี พ.ศ. ๒๕๖๒
มีพระภิกษุจำพรรษา ๔ รูป
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ
รูปที่๑ หลวงพ่อแสง สารีโส
รูปที่๒ พระอาจารย์เลย์
รูปที่๓ พระอาจารย์สมศักดิ์ สุมโณ
รูปที่๔ พระสมยศ สุมงฺคโล
รูปที่๕ พระคำสี วุฒิโก พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๑๐
รูปที่๖ หลวงพ่อบุญเกิด
รูปที่๗ พระอธิการวันทอง วณฺณธโร พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๗
รูปที่๘ พระอธิการณัฐพล ฐานจาโร พ.ศ. ๒๕๕๗ - ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดบ้านเม่น
วัดศรีชมชื่น
พระอธิการสมาน รกฺขิตธมฺโม
เจ้าอาวาสวัดศรีชมชื่น
วัดศรีชมชื่น ตั้งอยู่เลขที่ ๒๔๔ บ้านหัวบึง ต.บ้านขาว อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๐๖
ประวัติความเป็นมา วัดศรีชมชื่น ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ โดยมีประชาชนอพยพมาจากบ้านนาพู่ และมาจากนคร
หลวงเวียงจันทร์ ได้เห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การตั้งหมู่บ้าน และที่พักอาศัย เหมาะแก่การทำมาหากินเพราะมีบึงใหญ่
ชื่อว่าบึงชวน เพราะอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหาร มีทั้งสัตว์ป่าและสัตว์น้ำมากมาย จึงได้ก่อตั้งสร้างเป็นที่พักอาศัยเป็นหมู่บ้าน มีผู้คนมาร่วมตั้งหมู่บ้านขณะนั้น ๑๘ ครอบครัว โดยมี นายพรมมา เป็นผู้นำ มีพระอีก ๕ รูป ที่ได้เดินทางมาแล้วเห็นสถานที่ตั้งวัด
ที่มีหินศิลาแลง เสมาเก่า หันหน้าไปทางทิศเหนือ คงเป็นอุโบสถเก่าสมัยล้านช้างหรือขอมโบราณ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๖๙
ได้รับอนุญาตการตั้งวัดและสร้างวัดพร้อมทั้งเสนาสนะต่างๆ คืออุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอระฆัง ศาลารายโรงทาน ห้องน้ำ พระพุทธรูป ๓ องค์ ประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ และลานปฏิบัติธรรม โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๐๖ วัดได้รับการดูแลรักษาทะนุบำรุงจากพุทธศาสนิกชน โดยทั่วไปด้วยดีตลอดมาจนถึง - ปัจจุบันเป็นเวลา ๑๐๒ ปี
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ
รูปที่๑ พระคำสา พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๒๔๖๙
รูปที่๒ พระทองดี ขุริดี พ.ศ. ๒๔๖๙ - ๒๔๗๕
รูปที่๓ พระนวนตา พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๔๙๐
รูปที่๔ พระครูสุนทรธรรมวิจัย พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๕๑๖
รูปที่๕ พระบุญโฮม พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๒๒
รูปที่๖ พระชาลี อนุตฺตโร พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๒๘
รูปที่๗ พระครูสุธรรมาภิบาล พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๖๔
รูปที่๘ พระครูปฏิภาณวิสุทธิคุณ พ.ศ. ๒๕๖๔
รูปที่๙ พระอธิการสมาน รกฺขิตธมฺโม พ.ศ. ๒๕๖๕ - ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีชมชื่น
วัดบัวจูม
พระสมชาย ฐิตธมฺโม
รักษาการเจ้าอาวาสวัดบัวจูม
๐๖๑-๘๔๒-๒๔๓๐
วัดบัวจูม ตั้งอยู่เลขที่ ๓๗๑ บ้านขาว ต.บ้านขาว อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๐
ประวัติความเป็นมา วัดบัวจูม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อวัดบัวตูม เพราะท่าตั้งมีหนองน้ำใหญ่ ซึ่งมีดอกบัวจำนวนมาก
ภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดบัวจูม ดังปัจจุบัน ชาวบ้านเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดบ้านขาว อาคารเสนาสนะประกอบไปด้วย
ศาลาการเปรียญหลังเก่าเป็นอาคารไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ วึ่งใช้เป็นที่เรียนภาษาบาลี ของพระภิกษุ - สามเณร ในยุคที่วัดบัวจูม
ยังเป็นสำนักเรียนบาลีที่สำคัญ แห่งหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งอยู่ในช่วงที่พระครูอนุรักษ์วิมลคุณ ยังเป็นเจ้าอาวาสอยู่
( ปัจจุบันได้ทำการรื้อถอนเพื่อสร้างอาคารใหม่แล้ว ) ศาลาการเปรียนหลังใหม่ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ กุฏิสงฆ์และศาลาหอ และศาลาหอฉันท์หลังเก่าเป็นอาคารไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒ ปัจจุบันกุฏิหลังเก่าได้ทำการรื้อถอนเพื่อสร้างหลังใหม่ไปแล้ว ๒ หลัง
หอระฆังสูง ๓ ชั้นสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓ กุฏิเดี่ยว ๖ หลัง และอาคารพิพิธภัณธ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นอาคารไม้ทรงไทย
สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ปูชนียสถานประกอบไปด้วย ๑. พระพุทธรูปไม้ ๒. ธรรมมาสไม้แกะสลัก ๓. ตู้หนังสือธรรมใบลาน
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ
รูปที่๑ พระอาจารย์นิล พ.ศ. ๒๓๒๐ - ๒๓๔๘
รูปที่๒ พระอาจารย์เสา พ.ศ. ๒๓๔๘ - ๒๓๗๐
รูปที่๓ พระอาจารย์ลา พ.ศ. ๒๓๗๐ - ๒๓๙๕
รูปที่๔ พระอาจารย์หน่อย พ.ศ. ๒๓๙๕ - ๒๔๑๒
รูปที่๕ พระอาจารย์พุฒ พ.ศ. ๒๔๑๒ - ๒๔๒๐
รูปที่๖ พระครูสังฆ์ พ.ศ. ๒๔๒๐ - ๒๔๔๖
รูปที่๗ พระผง พ.ศ. ๒๔๔๖ - ๒๔๕๐
รูปที่๘ พระอุ่น พ.ศ. ๒๔๕๐ - ๒๔๕๔
รูปที่๙ พระอ่อนจันทร์ พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๖๐
รูปที่๑๐ พระหนา พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๒๔๖๓
รูปที่๑๑ พระเป๊าะ พ.ศ. ๒๔๖๓ - ๒๔๘๐
รูปที่๑๒ พระครูอนุรักษ์วิมลคุณ พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๕๑๑
รูปที่๑๓ พระแท่ง พ.ศ. ๒๕๑๑ - ๒๕๑๕
รูปที่๑๔ พระหนูแก้ว พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๒๐
รูปที่๑๕ พระขัน พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๒๔
รูปที่๑๖ พระหนูเล็ก ฐิติญาโณ พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๓๐
รูปที่๑๗ พระครูไพบูลสาธุกิจ พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๕
รูปที่๑๘ พระครูมงคลประทุมรัตน์ พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๖๑
รูปที่๑๙ พระมหาปัญญาจิตร ถามวโร พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔
รูปที่๒๐ พระสมชาย ฐิตธมฺโม พ.ศ. ๒๕๖๔ - ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รักษาการเจ้าอาวาส วัดบัวจูม
วัดป่าเลไลย์
พระถนิต ชยธมฺโม
รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลย์
๐๙๘-๖๔๑-๑๖๘๕
วัดป่าเลไลย์ ตั้งอยู่ที่บ้านหัวบึง ต.บ้านขาว อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี
สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙
ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙
ประวัติความเป็นมา วัดป่าเลไลย์ ตามที่ได้ฟังจากผู้สูงอายุของหมู่บ้าน ได้กล่าวว่า สร้างในปี พ.ศ.๒๔๖๙ เคยเป็นวัดร้างมาก่อน เพราะได้เห็นสถูปเก่าพอเป็นรูปร่างวัดเก่า พระครูสุนทรธรรมวิจัย และชาวบ้านหัวบึงได้ร่วมกันบูรณะสร้างวัดขึ้น พร้อมมาเป็นเจ้าอาวาสวัดใน ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งมีพระได้หมุนเวียน กันมาจำพรรษาอยู่เรื่อยๆจนมาถึง พระสุรเดช
ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดและได้ลาสิกขาในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ปัจจุบันมีพระถนิต ชยธมฺโม เป็นผู้ดูแลวัดแห่งนี้
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ
รูปที่๑ พระครูสุนทรธรรมวิจัย พ.ศ. ๒๔๖๙
รูปที่๒ พระสุรเดช ปสนฺโน
รูปที่๓ พระถนิต ชยธมฺโม พ.ศ. ๒๕๖๔ - ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รักษาการเจ้าอาวาส วัดป่าเลไลย์
วัดศรีสว่าง
พระสำอาง สิริปญฺโญ
รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีสว่าง
๐๖๔-๔๖๙-๓๗๑๙
วัดศรีสว่าง ตั้งอยู่ที่ ๑๑๔ บ้านดอนหมากผาง ต.บ้านขาว อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๖
ประวัติความเป็นมา วัดศรีสว่าง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๖ เอกสารเท่าที่ทราบ วัดศรีสว่างได้ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับผู้ใหญ่บ้านคนแรก
คือ นายบุตรดี ผิวคราม ระหว่างนั้นมีเจ้าอาวาสคือ พระอาจารย์ดำ อยู่ต่อมาท่านอาจารย์ดำ ได้ลาสิกขา ทางวัดศรีสว่างก็ไม่มีเจ้าอาวาส แต่มีพระมาจำพรรษาไปๆมาๆไม่ขาด จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๐ มีหลวงปู่ผันได้เข้ามาอยู่และรับเป็นเจ้าอาวาสให้ เมื่อถึงเวลาท่านก็ออกจาริกต่อไป โดยมีหลวงปู่ขันตี เป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ หลวงปู่ขันตีได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น หลวงปู่สีมาเป็นเจ้าอาวาสแทน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ แล้วท่านก็มรณะภาพ หลวงปู่หมองจึงได้มาเป็นเจ้าอาวาสแทนในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ จนมรณะภาพเมื่อ
ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ปัจจุบันมีพระเข้ามาจำพรรษาและรักษาการแทนคือ พระสำอาง สิริปญฺโญ รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีสว่าง
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ
รูปที่๑ พระอาจารย์ดำ
รูปที่๒ หลวงปู่ผัน
รูปที่๓ หลวงปู่ขันตี
รูปที่๔ หลวงปู่สิมา พ.ศ. ๒๕๒๖ - ๒๕๓๖
รูปที่๕ หลวงปู่หมอง พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๖๒
รูปที่๖ พระสำอาง สิริปญฺโญ พ.ศ. ๒๕๖๒ - ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รักษาการเจ้าอาวาส วัดศรีสว่าง
วัดอรุณประทุมมาราม
พระอธิการบุญเรือง กตกุสโร
เจ้าอาวาสวัดอรุณปทุมมาราม
๐๘๖-๒๒๒-๔๕๐๑
วัดอรุณปทุมมาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๒๓๑ บ้านนาบัว ต.บ้านขาว อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๑๔
ประวัติความเป็นมา วัดอรุณปทุมมาราม หลังจากชาวบ้านนาบัว ได้ก่อตั้งบ้านในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ นายเปี้ย โพธิ์ศรีดา ผู้ใหญ่บ้านพร้อมด้วยผู้อาวุโสในหมู่บ้านได้ไปนิมนต์พระอาจารย์ ตุด ติณฺโณ จากวัด บัวจูม ที่บ้านขาว มาประจำที่บ้านนาบัวในปี พ.ศ.๒๔๖๐ โดยได้กั้นเขตวัดไว้จำนวน ๗ ไร่ ๖ ตารางวา บริเวณดังกล่าวมีร่องรอยวัดเดิมสมัยล้านช้าง โดยมีอุโบสถเก่าแก่ทำด้วยศิลาแลง ชำรุดมากแล้วไม่มีพระประธาน ในอุโบสถนี้ และมีเจดีย์เก่าๆสร้างด้วยอิฐชำรุดและพังลงอีก ๑ องค์ พระอาจารย์ตุด ติณฺโณ บูรณะอุโบสถขึ้นพอได้ทำกิจสงฆ์ และได้ตั้งชื่อวัดบ้านนาบัวว่า วัดอรุณปทุมมาราม ซึ่งเป็นชื่อสอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านด้วยแรงศรัทธาชาวบ้าน
จึงได้สร้างวัดถวายและทำรั้วรอบขอบชิดในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ พระอาจารย์อ่อน เจ้าอาวาสวัดในขณะนั้นได้ขุดลื้อเจดีย์
ที่ผุพังได้พบพระศิลปะล้านช้าง อยู่ใต้ฐานเจดีย์
มีพระทองคำแท้ ๔ องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑ นิ้ว สูง ๒ นิ้ว กรมศิลปากรนำไปขึ้นทะเบียนแต่ครั้งขุดพบ และได้พระผงหุ้มเงินแท้จำนวน ๑๐๐ องค์พระเงินได้เก็บไว้ในอุโบสถหลังใหม่ ไว้ให้คนกราบไหว้บูชา
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่คร่อมทับฐานอุโบสถหลังเดิม เพื่อทำกิจสงฆ์เมื่อเสร็จได้ทำการสมโภชน์
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ขณะนี้ พ.ศ. ๒๕๕๖ พระอุโบสถหลังนี้ชำรุดได้รื้อลงแล้วและกำลังก่อสร้างพระอุโบสถใหม่
คร่อมทับอุโบสถเดิม หลังใหญ่กว่าแข็งแรงได้มาตรฐานในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ทางวัดได้ตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน โดยอยู่ในความอนุเคราะห์ของกรมศาสนาในปีแรก มีเด็ก ๔๒ คนมีครูหญิง ๓ คน ปีพ.ศ. ๒๕๕๖ มีเด็กเพิ่มขึ้น ๖๓ คน ชาย ๓๗ คน
หญิง ๒๖ คน ครูพี่เลี้ยง ๔ คน ปัจจุบันมีเจ้าอาวาสคือ
พระอธิการบุญเรือง กตกุสโล เป็นเจ้าอาวาสปกครองเรื่อยมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๕๒ นายใหม่ โพธิ์ศรีดา ผู้ใหญ่บ้านร่วมกับชาวบ้านได้สร้าง ศาลาวัดหลังใหม่เพิ่มขึ้นอีก ๑ หลังซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเดิมมาก
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ
รูปที่๑ พระอาจารย์ตุด ติณฺโณ พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๒๔๖๓
รูปที่๒ พระอาจารย์ผัน พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๔๗๑
รูปที่๓ พระอาจารย์ใบ พ.ศ. ๒๔๗๒ - ๒๔๗๔
รูปที่๔ พระอาจารย์บุญตา พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๔๗๖
รูปที่๕ พระอาจารย์นิล พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๘๑
รูปที่๖ พระอาจารย์อ่อง วิสุทธํสีโล พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๔๘๕
รูปที่๗ พระอาจารย์ผัง หสจิตฺโต พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๙๑
รูปที่๘ พระอาจารย์ใจ พ.ศ. ๒๔๙๒ - ๒๔๙๖
รูปที่๙ พระอาจราย์บุญมา พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๒๕๐๑
รูปที่๑๐ พระอาจารย์น้อย พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๐๓
รูปที่๑๑ พระอาจารย์อ่อน พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๖
รูปที่๑๒ พระอาจารย์อินถา พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๑๔
รูปที่๑๓ พระเกิด เตชปุณฺโณ พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๒๖
รูปที่๑๔ พระอาจารย์ชาญ พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๒๘
รูปที่๑๕ พระอาจารย์เสถียร พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๒๙
รูปที่๑๖ พระอาจารย์อรุณ พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๓
รูปที่๑๗ พระอาจารย์อ่อง พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๕๙
รูปที่๑๘ พระอาจารย์บุญเรือง พ.ศ. ๒๕๕๙ - ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดอรุณปทุมมาราม
วัดป่ายอดแก้ว
พระอธิการประกอบ ปภสฺสโร
เจ้าอาวาสวัดป่ายอดแก้ว
๐๘๙-๕๗๔-๐๔๖๒
วัดป่ายอดแก้ว ตั้งอยู่เลขที่ ๒๗๐ บ้านนาบัว ต.บ้านขาว อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๐
ประวัติความเป็นมา วัดป่ายอดแก้ว บ้านนาบัว ตำบลบ้านขาว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ผู้สร้างวัดครั้งแรกคือ ขุนขาว เขตุขยัน โดยครั้งแรกชาวบ้านเรียกนามวัดว่า วัดยอด ตั้งวัดประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๐ โดยมีพระอาจารย์อ่อน เป็นเจ้าอาวาส จนเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ ขาดพระภิกษุจำพรรษาที่วัด จึงเป็นวัดร้างพระภิกษุ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ พระประกอบ ปภสฺสโร ร่วมกับชาวบ้านนาบัวได้มาบูรณะวัดดังกล่าวขึ้นใหม่ จนถึงปัจจุบัน สำหรับการบูรณะพัฒนา มีมาโดยสม่ำเสมอทุกปี มีการก่อสร้างอาคารเสนาสนะจนมีอาคารต่างๆ สมบูรณ์สามารถบริการศาสนิกชน ใช้ประกอบกิจกรรมทางศาสนาได้อย่างสมบูรณ์ ดังรายละเอียดการก่อสร้างดังนี้ วัดป่ายอดแก้ว ได้เริ่มก่อสร้างอุโบสถโดยก่อสร้างหลังคาครอบอุโบสถหลังเดิม เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
จนถึงปัจจุบันได้ก่อสร้างกุฏิจำนวน ๔ หลัง โรงครัว ๑ หลัง ศาลา ๑ หลัง เรือนพักชี ๒ หลัง ได้มีการก่อสร้างรั้วรอบทั้ง ๔
ด้านจนมาถึงปัจจุบัน
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ
รูปที่๑ พระอาจารย์อ่อน พ.ศ. ๒๔๐๐
รูปที่๒ พระอธิการประกอบ ปภสฺสโร พ.ศ. ๒๕๓๑ - ปัจจุบัน
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่ายอดแก้ว