ตำบลหนองนาคำ เขต ๓

   วัดศรีชมภูบูรพาราม

 พระครูสุวัจน์วโรดม 

( พุฒ  สุวโจ ) 

เจ้าคณะตำบลหนองนาคำ เขต ๓

เจ้าอาวาสวัดศรีชมภูบูรพาราม

๐๘๗-๘๕๓-๓๔๗๐

วัดศรีชมภูบูรพาราม   ตั้งอยู่เลขที่  ๓๘๕  บ้านหนองหว้า  ต. หนองนาคำ อ. เมืองอุดรธานี จ. อุดรธานี 

สร้างเมื่อวันที่  ๑๑   พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๘ 

ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่  ๒๑  มกราคม  พ.ศ.๒๕๕๔ 

ประวัติความเป็นมา    วัดศรีชมภูบูรพาราม  เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๐  มีผู้อพยพมาจากบ้านโก่ย  และบ้านหนองนาคำ  และได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นชื่อบ้านหนองหว้า หมู่ที่ ๔ ต.หนองบุ  อ.เมือง จ.อุดรธานี  พร้อมกันนั้นก็ได้เลือก 

นายสอ พลอยพุฒ ให้เป็นผู้ใหญ่บ้านหนองหว้าประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๓  ชาวบ้านหนองหว้าได้พร้อมใจกันจัดตั้งวัดประจำหมู่บ้านหนองหว้าขึ้นมา โดยเอาชื่อของหนองน้ำและต้นหว้าที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน  จึงตั้งชื่อวัดว่า 

" วัดศรีชมภูบูรพาราม "   และมีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษาเป็นลำดับมา  เมื่อถึง  พ.ศ. ๒๕๒๑ 

มีพระมหาประสาน  มาน้ำเที่ยง  ซึ่งย้ายมาจากมหาสารคาม  ทำการสอนเด็กก่อนเกณฑ์  หรือโรงเรียนวัดไปพร้อมกัน 

จนมาถึง พ.ศ. ๒๕๒๔  หลวงปู่ทองสุข  ซึ่งย้ายมาจากวัดศรีทัศน์  บ้านหนองนาคำ  มาพร้อมพระภิกษุ - สามเณรมาอยู่จำพรรษา  จนถึง พ.ศ. ๒๕๔๓  พระสงฆ์และชาวบ้านได้พร้อมใจกันเดินเรื่องขอจัดตั้งให้วัด  เข้าสู่ระบบมีทะเบียนวัดถูกต้องตามกฏหมายบ้านเมือง   และได้รับอนุญาตประกาศเป็นวัดในพระพุทธศาสนาชื่อว่า   วัดศรีชมภูบูรพาราม

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง  เจ้าคณะตำบลหนองนาคำ เขต ๓ / เจ้าอาวาสวัดศรีชมภูบูรพาราม

         วัดเวฬุวัน

 พระอธิการบุญตอม จนฺทิโก 

เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน

๐๘๗-๒๓๓-๒๖๖๑

วัดเวฬุวัน   ตั้งอยู่ที่  ๒๓๖  บ้านหนองไผ่  ต.หนองนาคำ  อ.เมืองอุดรธานี  จ.อุดรธานี  สร้างเมื่อวันที่  ๒๖  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๕๒

ประวัติความเป็นมา    วัดเวฬุวัน  เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๕   มีผู้อพยพมาจากบ้านโก่ย  และบ้านหนองนาคำและที่อื่นๆ  อีกหลายที่ได้มาตั้งหมู่บ้านขึ้นชื่อว่า  บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ ๕ ต.หนองบุ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยเอาชื่อตามป่าไผ่ เพราะมีต้นไผ่มากอยู่ทิศใต้ของหมู่บ้าน  พร้อมกันนั้นก็ได้เลือก นายสุด  แก้ววันนา  ให้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และพาชาวบ้านพัฒนาหมู่บ้านจนมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ  พร้อมกับประชากรในหมู่บ้านก็เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับด้วย

เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ จึงได้ประชุมชาวบ้านเพื่อที่จะสร้างวัดไว้ประจำหมู่บ้าน เพื่อเอาไว้ประกอบกิจกรรมทำบุญทางพระพุทธศสานา โดยได้ชื่อว่า วัดเวฬุวัน ตามชื่อของหมู่บ้าน ตั้งแต่นั้นมาก็มีพระภิกษุมาจำพรรษาอยู่เรื่อยๆไม่ขาด  จนถึงประมาณปี  ๒๕๕๐   โดยมีหลวงพ่อจันทร์  จันทโชโต  พร้อมด้วย   นายสมพงษ์  บุตรหา ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้น พร้อมด้วยชาวบ้านพากันดำเนินการขอจัดตั้งวัดให้ถูกต้อง  ตามกฏระเบียบของบ้านเมือง  และก็ได้รับประกาศการอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อ  วันที่  ๒๖  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๕๒

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  วัดเวฬุวัน

      วัดศรีสว่างวงศ์

 พระมหาปาน อนาลโย 

รักษาการเจ้าอาวาส

วัดศรีสว่างวงศ์

๐๘๘-๓๒๓-๘๖๙๑

วัดศรีสว่างวงศ์    ตั้งอยู่บ้านหนองแก   ต.หนองนาคำ   อ.เมืองอุดรธานี   จ.อุดรธานี  

สร้างเมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๐๙  -  ๒๕๑๐

ประวัติความเป็นมา   วัดศรีสว่างวงศ์   ตั้งอยู่บริเวณป่าไม้ของชาติตามมติของคณะรัฐมนตรี  คือ เมื่อปี  พ.ศ.๒๕๐๙  ได้มีกลุ่มบุคคลที่เป็นคนพื้นเพเดิมอยู่บ้านโก่ย  และบ้านตูม  แต่ก่อนเป็นตำบลหนองบุ  แต่ปัจจุบันนี้เป็นตำบล

หนองนาคำ  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  ได้เดินทางมาตั้งถิ่นฐาน  ณ บริเวณบ้านหนองแกในปัจจุบันมีคน  ๙  คน

๑. นายโส   บุดดีหัด       ๒. นายอุ่น   โพธิ์พระ     ๓. พ่อเค้ม   แก้ววันนา

๔. พ่อเพ็ง   คุ้มดวง       ๕. พ่อเสาร์   พุฒหอม      ๖. พ่อเฮือง   นามอาษา

๗.พ่อพวง   แก่นสาร     ๘. พ่อหอม   พรมยาลี      ๙. พ่อสว่าง   ศรีแสนงาม 

เพราะคิดว่าบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์  เหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นอย่างมาก จึงได้ร่วมไม้ร่วมมือกันถางป่าเพื่อที่จะทำการเพาะปลูก  จนถึงประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๐  ซึ่งเป็นช่วงที่มีคนอพยพมาอยู่เป็นจำนวนมากขึ้นตามลำดับ  จึงพากันขอตั้งเป็นหมู่บ้านชื่อว่า  " บ้านหนองแก "  เพราะบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านนี้มี  ห้วย,  หนอง, บึง  ที่เต็มรอบไปด้วยต้นแก 

จึงได้ชื่อหมู่บ้านตามนั้น  และในปีเดียวกันนั้นชาวบ้านนำโดย  นายสว่าง ศรีแสนงาม ได้กันที่ส่วนหนึ่งในหมู่บ้านเอาไว้สำหรับตั้งวัดโดยเฉพาะ  และพากันสร้างเสนาสนะ  ศาลา กุฏิ ห้องน้ำ ขึ้นมาไว้รองรับพระที่จะมาอยู่และจำพรรษา พร้อมกันนั้นได้ตั้งชื่อวัดว่า  วัดศรีสว่างวงศ์   ซึ่งตั้งเอานามของนายสว่าง  ศรีแสนงาม ตั้งแต่นั้นมาก็มีพระมาอยู่จำพรรษาตลอดอยู่เรื่อยไม่ขาด

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒  มีพระมหาปาน  หล้าหลง  ได้มาอยู่และนำพาชาวบ้านโดยมีนายบัวไลย  พลโต เป็นผู้ใหญ่บ้าน เดินเรื่องเพื่อที่จะขอเอกสารสิทธิ์ เพื่อเอามาขอตั้งวัดให้ถูกต้องตามกฏระเบียบของบ้านเมือง และตอนนี้อยู่ในระบบของ กบร. ( กองการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ )  ซึ่งได้รับการพิจารณาเข้าสู่ระบบการแก้ไขของหน่วยงาน กบร.  เป็นที่เรียบร้อยแล้ว


การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รักษาการเจ้าอาวาส  วัดศรีสว่างวงศ์

   วัดศรีสว่างเกษมสุข

  พระมหาจำรัส รุจิรธมฺโม 

เจ้าอาวาสวัดศรีสว่างเกษมสุข

๐๙๓-๑๐๔-๑๑๗๓

วัดศรีสว่างเกษมสุข    ตั้งอยู่ที่  ๕๑๑  บ้านจำปา  ต.หนองนาคำ  อ.เมืองอุดรธานี  จ.อุดรธานี 

 สร้างเมื่อวันที่  ๓๑  พฤษภาคม   พ.ศ. ๒๕๖๔

ประวัติความเป็นมา   วัดศรีสว่างเกษมสุข  มีความเป็นมาดังนี้  เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๙  มีหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า

 บ้านโก่ย  ต.หนองบุ  อ.เมือง  จ.อุดรธานี  ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของเมืองอุดรธานี   ห่างจากตัวเมือง ๑๑ กม.

 เป็นหมู่บ้านที่มีชาวบ้านอยู่เป็นจำนวนมาก  เมื่อประมาณ  ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้มีชาวบ้านอยู่หลายกลุ่มชักชวนกันย้ายถิ่นฐาน  ทำมาหากินมาอยู่ตามที่นาของตนเอง  บางกลุ่มก็แยกออกไปอยู่บ้านหนองหว้า   บ้านหนองไผ่  ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านโก่ย  มีชาวบ้านอยู่กลุ่มหนึ่งซึ่งมีกันอยู่  ๔  คนคือ

๑. นายเกิด  นามอาษา       ๒. นายอ่อน   มาตะยา 

๓. นายคำสิงห์  มาตะยา     ๔. นายพรหมมา  นามอาษา

ได้ชักชวนกันมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านโก่ย  ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๒ กม. ตามที่ทำมาหากินของตนเองต่อมา   ก็มีชาวบ้านพากันย้ายติดตามมาเป็นจำนวนมาก  มีชาวบ้านโก่ยบ้าง  และมีชาวบ้านต่างถิ่นบ้าง  จนมีชาวบ้านอยู่เป็นจำนวนมาก  จึงพากันตั้งหมู่บ้านขึ้น ได้ชื่อว่า  บ้านจำปา  ก็เพราะมีต้นจำปาใหญ่อยู่กลางหมู่บ้านชึ่งมีนายอ่อน มาตะยา  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก เมื่อเป็นหมู่บ้านที่มีความมั่นคงแล้ว  จึงได้พากันสร้างวัดขึ้นเมื่อ

ปี  พ.ศ. ๒๔๘๓  เพื่อประกอบพิธีทางศาสนาตามวิถีชาวพุทธสืบมา  เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๑  มีพระอาจารย์รูปหนึ่งชื่อ  พระเกษม  มาตะยา  ได้เข้ามาจำพรรษาอยู่ทีึ่วัด  ได้พาชาวบ้านพัฒนาวัด  มีการสร้างศาลา  กุฏิ ห้องน้ำ  

ให้มีความเจริญแล้วจึงปรึกษากันตั้งชื่อวัดชื่อว่า  วัดศรีสว่างเกษมสุข ก็เพราะว่าตั้งตามชื่อพระอาจารย์เกษม  ซึ่งท่านเป็นผู้นำพาชาวบ้านพัฒนาวัดให้มีความเจริญต่อมา  ก็มีพระภิกษุมาจำพรรษาอยู่เรื่อยมาไม่ขาดสาย  ร่วมกับชาวบ้านได้สร้างศาสนวัตถุ  ศาสนสถาน  สิ่งต่างๆ  ซึ่งมีความมั่นคงถาวรขึ้น จึงได้พากันขออนุญาตตั้งวัดให้ถูกต้องตามกฏหมายและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และได้รับการอนุญาตให้ตั้งวัดถูกต้องจากทางราชการ  และมหาเถรสมาคม

เมื่อวันที่  ๓๑  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๖๔ 

ชื่อวัดศรีสว่างเกษมสุข  โดยมีพระมหาจำรัส  รุจิรธมฺโม ( นามอาษา )  เป็นเจ้าอาวาสที่ถูกต้องรูปแรก

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  วัดศรีสว่างเกษมสุข

     วัดนิโรธพิมพาราม

พระอธิการบุญ อโสโก 

เจ้าอาวาสวัดนิโรธพิมพาราม

๐๘๒-๘๖๔-๙๙๘๒

วัดนิโรธพิมพาราม   ตั้งอยู่เลขที่  ๓๖๕   บ้านจำปา   ต.หนองนาคำ  อ.เมืองอุดรธานี  จ.อุดรธานี  

สร้างเมื่อวันที่  ๒๓  สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๕๗ 

ประวัติความเป็นมา    วัดนิโรธพิมพาราม  เมื่อประมาณ  พ.ศ. ๒๕๕๖  นางพิมพา  มาค๊าฟ  ได้ถวายที่ดินให้ก่อสร้างวัดจำนวน  ๑๔  ไร่  และมีการจัดหาเพิ่มเป็นจำนวน  ๓๒  ไร่  เพื่อเป็นศูนย์รวมพุทธศาสนิกชน  และเป็นที่ปฏิบัติธรรม  อบรมนักเรียน นักศึกษา  และประชาชนทั่วไป

การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบรายนามคือ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  วัดนิโรธพิมพาราม